สมุนไพรตามกลุ่มโรค | กลุ่มรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

ที่มาและวัตถุประสงค์

สมุนไพรภายในสวน

- สมุนไพรตามกลุ่มโรค

- ตำรับพระโอสถพระนารายณ์

แผนผังสวน

ขมิ้นชัน

(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.)

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ Turmeric, Curcuma, Indian saffron, Long rooted curcuma, Turmeric, Yellow ginger

ชื่ออื่นๆ ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ตายอ สะยอ

ส่วนที่ใช้ เหง้า

สรรพคุณ

เหง้า รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน รักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้อ แผลในกระเพาะอาหาร
ตามตำรายาสรรพคุณยาไทย
ขมิ้นชันมีรสเผ็ดร้อน นิยมใช้เพื่อบำรุงธาตุ ฟอกโลหิต แก้พิษโลหิต แก้เสมหะ แก้ไข้ทั้งปวง แก้ผดผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และแก้บาดแผล
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ขมิ้นชัน ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตำรับ ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของขมิ้นชันเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการแน่น จุกเสียด

รายงานการวิจัยในปัจจุบัน
ข้อมูลจากการวิจัยพรีคลินิก พบว่า ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านฮีสตามีน ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ ต้านมะเร็ง ขับน้ำดี และใช้ภายนอกเพื่อรักษาแผล
ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในคน พบว่า ขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการจุกแน่นท้อง ลดการอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย และรักษาสิว
สารสำคัญ
ขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหยง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย สารกลุ่ม Monoterpenes และ กลุ่ม Sesquiterpenes เช่น Termerone Ar-turmerone Zingiberene Curlone และมีสารสีเหลืองในกลุ่ม Curcuminoids เช่น Curcumin Desmethoxycurcumin เป็นต้น
ปรากฏในตำรับโอสถพระนารายณ์
72 น้ำมันขนานหนึ่ง

ที่มา    

หนังสือ คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร เพื่อใช้ในทางเภสัชกรรม หน้า 73-75

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=52

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=34

 

 

| จัดทำโดยกองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล |