สมุนไพรตามกลุ่มโรค | กลุ่มรักษาเบาหวาน

ที่มาและวัตถุประสงค์

สมุนไพรภายในสวน

- สมุนไพรตามกลุ่มโรค

- ตำรับพระโอสถพระนารายณ์

แผนผังสวน

หญ้าหนวดแมว

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.)

ชื่อวงศ์        LAMIACEAE

ชื่อสามัญ    Cat's whisker, Java tea, Misai kuching

ชื่ออื่น         พยับเมฆ อีตู่ดง บางรักป่า

ส่วนที่ใช้     ทั้งต้น ใบ

สรรพคุณ
ทั้งต้น ขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว
ใบ รักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต  
หญ้าหนวดแมว มีสารสำคัญหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น มีปริมาณโพแตสเซียมสูง สารกลุ่มฟลาโวน(sinensetin), ซาโปนิน และ กลัยโคซายด์ (orthosiphonin) นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดความอ้วน และลดไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้และมีความเป็นพิษต่ำ มีการทดลองกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในประเทศไทย ชาชงหญ้าหนวดแมวช่วยเพิ่มการขับซิเตรท และอ๊อกซาเลต การขับซิเตรทช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว ชาหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งแกรมบวก และแกรมลบ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ขับปัสสาวะ 
1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน
2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ ไต ไม่ควรรับประทาน เพราะมี โปแตสเซียมสูงมาก
องค์ประกอบทางเคมี
ต้น : Hederagenin, Beta-sitosterol, Ursolic acid
ใบ : Glycolic acid, Potassium salt 0.7-0.8%, Orthosiphonoside, Tannin, Flacone, Organic acid, Volatile oil

ที่มา

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_7.htm
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=174

 

 

| จัดทำโดยกองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล |