สมุนไพรตามกลุ่มโรค | กลุ่มบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ

ที่มาและวัตถุประสงค์

สมุนไพรภายในสวน

- สมุนไพรตามกลุ่มโรค

- ตำรับพระโอสถพระนารายณ์

แผนผังสวน

โด่ไม่รู้ล้ม (หญ้าสามสิบ)

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephantopus scaber L.)

ชื่อวงศ์     COMPOSITAE

ชื่อสามัญ       Prickly leaved, Elephant's foot

ชื่ออื่นๆ ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าสามสิบสองหาบ หนาดผา หนาดมีแคลน

ส่วนที่ใช้       ใบ ราก ทั้งต้น

สรรพคุณ

ใบ - รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง (ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล แก้โรคผิวหนังผื่นคัน) แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค รักษาโรคบุรุษ เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน แก้ไอ ทำให้เกิดความกำหนัด
ราก - ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน
ทั้งต้นสด – บำรุงกำหนัด

วิธีใช้
1.แก้เลือดกำเดา ใช้ต้นสด 30-60 กรัม (หรือต้นแห้ง หนัก 10-15 กรัม)  ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
2.แก้ดีซ่าน ใช้ต้นสด 120-240 กรัม ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
3.แก้ท้องมาน  ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือตุ๋นกับเนื้อหมูรับประทาน
4.แก้ขัดเบา  ใช้ต้นสด15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
5.แก้นิ่ว  ใช้ต้นสด 90 กรัม ต้มกับเนื้อหมู 120 กรัม เติมน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ต้มเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ แบ่งไว้ดื่ม 4 ครั้ง
6.แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ใช้ต้นแห้ง 6 กรัม แช่ในน้ำร้อน 300 ซีซี (ประมาณขวดแม่โขง) นาน 30 นาที รินเอาน้ำดื่ม หรือจะบดเป็นผงปั้นเม็ดไว้รับประทานก็ได้
7.แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ  ใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
8.แก้ฝีบวมหรือฝีเป็นหนอง  ใช้ต้นสด ตำผสมเกลือเล็กน้อย ละลายน้ำส้มสายชูพอข้นๆ พอก
9.แก้ฝีฝักบัว  ใช้ต้นสด 25 กรัม ใส่น้ำ 1 ขวด และเหล้า 1 ขวด ต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำ เอาน้ำล้างหัวฝีที่แตก
องค์ประกอบทางเคมี
            Crepiside E, cynaropicrin deacyl; cyanaropicrin-3-β-D-glucopyranoside deacyl; dotriacontan-1-ol; elephantopin, 11-13-dihydro-deoxy; elephantopin, 11-13-dihydro; elephantopin deoxy; elephantopin, iso-deoxy; friedelanol, epi; friedelinol, epi; lupeol; stigmasterol; stigmasterol 3-O- β-D-glucoside; triacontan-1-ol; zaluzanin C, gluco; scabertopin
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
             ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิตและยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก กระตุ้นมดลูก ยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase, glutamate-oxaloacetate-transaminase และ glutamate-pyruvate-transaminase
             ตำรับยาสมุนไพรของไต้หวัน ชื่อ “Teng-khia-U” ประกอบด้วย Elephantopus scaber, Elephantopus mollis และ Pseudoelephantopus spicatus ที่สกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ปกป้องตับจากการทำลายด้วยสารเคมี β-D-galactosamine และ acetaminophen โดยทำให้ระดับ sGOT และ sGPT ลดลง นอกจากนี้ตำรับดังกล่าวยังมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบโดยใช้การทดสอบด้วย carrageenan ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนู
            การศึกษาผลของโด่ไม่รู้ล้มในหนูเพศผู้ต่อความกำหนัด คุณภาพน้ำอสุจิ อวัยวะเพศเสริม ขนาดและกล้ามเนื้อลึงค์ และสัดส่วนเพศลูก พบว่าสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มการเกิด libido เปลี่ยนแปลงค่า osmolality และจำนวนอสุจิของน้ำอสุจิ ลดเปอร์เซ็นต์อสุจิเคลื่อนไหว เพิ่มน้ำหนักอวัยวะเพศเสริม และเพิ่มสัดส่วนเพศลูก เพศเมีย/เพศผู้
ข้อห้ามใช้

            ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ชอบดื่มของร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะปริมาณมาก มีฝ้าบนลิ้น

ที่มา     

https://bit.ly/2YeheQB

http://www.royalparkrajapruek.org/Plants

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_10_4.htm

 

 

| จัดทำโดยกองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล |