สมุนไพรตามกลุ่มโรค | กลุ่มทางทันตกรรม

ที่มาและวัตถุประสงค์

สมุนไพรภายในสวน

- สมุนไพรตามกลุ่มโรค

- ตำรับพระโอสถพระนารายณ์

แผนผังสวน

การบูร

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum camphora (L.) J.Presl)

ชื่อวงศ์    LAURACEAE

ชื่อสามัญ     Camphor tree 

ชื่ออื่นๆ อบเชยญวน พรมเส็ง

ส่วนที่ใช้   ใบ เนื้อไม้ ลูก แก่นต้น ราก

สรรพคุณ

ใบ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้ไอ กระตุ้นหัวใจ
เนื้อไม้ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง  ท้องร่วง ขับเหงื่อ ถ้านำเนื้อไม้มากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้สารการบูร (camphor) ใช้แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงต่อยและโรคผิวหนังเรื้อรัง
ลูก แก้โรคอหิวาห์
เมล็ด แก้อาเจียน
แก่นต้น บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
ราก ฆ่าเชื้อ บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ เป็นยาทานวดทำให้เลือดมาเลี้ยง ขับลม  เปลือก แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง  บำรุงหัวใจ

องค์ประกอบทางเคมี
 camphor
สรรพคุณตามตำรายาไทย:
 “การบูร”  มีรสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้การบูร 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย วางในห้องหรือตู้เสื้อผ้าไล่ยุงและแมลง
การใช้ตามบัญชียาจากสมุนไพร:
ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้การบูร ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ ในยารักษาหลายกลุ่มอาการ ได้แก่  “ยาธาตุบรรจบ” มีสรรพคุณของตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ เป็นต้น, ตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของการบูรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณของตำรับในการบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา ตำรับ "ยาประสะไพล" มีส่วนประกอบของการบูรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณของตำรับในการรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของการบูร ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

ปรากฏในตำรับโอสถพระนารายณ์
67 น้ำมันมหาปะไลกัลป์ 78 น้ำมันมหาจักร

ที่มา

หนังสือ ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย 1 หน้า 37
หนังสือ พืชสมุนไพรประเภทต้น หน้า 124

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=127 http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=19

 

 

| จัดทำโดยกองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล |