โรคไตเรื้อรัง

คนเรามีไต​สองข้าง​ คือ ไตข้างซ้ายและขวา​ ตำแหน่งอยู่บริเวณบั้นเอว​ หน้าที่ของไตหลักๆ​ คือ
1. ขับของเสีย                                                                               
2. ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
3. สร้างฮอร์โมน​ที่มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง​
4. สร้างวิตามินดี
5. ควบคุมความดันโลหิตให้คงที่                                    

อาการของโรคไตเรื้อรัง                      
1. เท้าและข้อเท้าบวม
2. ตาบวมน้ำ​ โดยเฉพาะตอนเช้า
3. ปัสสาวะโดยเฉพาะตอนกลางคืน
4. ผิวแห้ง​ คัน
5. อ่อนเพลียง่าย
6. กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย
7. เบื่ออาหาร
8. ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

ระยะของโรคไตเรื้อรัง
มีทั้งหมด​ 5​ ระยะ​ โดยดูที่ค่าอัตราการกรองของไต​


( glomerular filtration rate, GFR)​

ระยะที่​ 1​ ไตเริ่มเสื่อม​ ค่า​ GFR​ เท่ากับ​ 90​ หรือมากกว่า
ระยะที่​ 2​ ไตเสื่อมเล็กน้อย​ ค่า​ GFR​ 60​ -​ 89
ระยะที่​ 3​ ไตเสื่อมปานกลาง​ ค่า​ GFR​ 30​ -​59
ระยะที่​ 4​ ไตเสื่อมมาก​ ค่า​ GFR​ 15​ -​ 29
ระยะที่​ 5​ ไตวาย​ ค่า​ GFR​ น้อยกว่า​ 15

หลักการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรัง
1. ​การดูแลเพื่อชะลอการเสื่อมของไต

2. การบำบัดทดแทนไต

ประกอบด้วย
1.​ การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์
2. การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์
3. หลีกเลี่ยงยาและสารพิษที่มีผลต่อไต
4. ควบคุมระดับไขมันในเลือด
5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
6. ลดอาหารเค็ม
7. ลดอาหารโปรตีนสูง​
8. ออกกำลังกาย​ อย่างน้อย​ 30​ นาที​ 5​ ครั้งต่อสัปดาห์
9. หยุดสูบบุหรี่

 

        นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไต​ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง​ เช่น​ กล้วย​ ส้ม​ ลำไย ลองกอง​ ขนุน​ ทุเรียน​ ฟักทอง​ แครอท​ มันฝรั่ง​ เห็ดโคน​ ใบชี้เหล็ก รวมถึงอาหารที่มีฟอสเฟตสูง​ เช่น​ ถั่ว​ นม​ ขนมปัง​ เค้ก​ โดนัท​ กาแฟ​ ไข่แดง​ เมล็ดพืชแห้งต่างๆ​

ในกรณีที่ไตวายไปแล้ว​ ประกอบด้วย

1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ( Hemodialysis​)​

2. การล้างไตทางช่องท้อง ( Peritoneal dialysis)​

3. การปลูกถ่ายอวัยวะไต ( Kidney​ transplantation)​

ดาวโหลดเอกสารประกอบ